ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อกของฉัน ด้วยความยินดียิ่งค่ะ ^_^

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556

Assingment 6

งานทำอินิเมชั่น

เรื่อง  การพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัย



การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) สำหรับเด็กปฐมวัย



            
           ช่วงระยะเวลาที่สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนรู้ของมนุษย์คือ  แรกเกิดถึง 7 ปี  หากมาส่งเสริมหลังจากวัยนี้แล้วถือได้ว่าสายเสียแล้ว เพราะการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงวัยนี้จะพัฒนาไปถึง 80 % ของผู้ใหญ่  ครูควรจัดการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก  ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการเล่น  เรียนรู้อย่างมีความสุข  จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดูแลด้านสุขนิสัยและโภชนาการเหมาะสม  เด็กจึงจะพัฒนาศักยภาพสมองของเขาได้อย่างเต็มความสามารถ

การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐาน (Brain-based Learning) เกี่ยวข้องกับเรื่องสำคัญ 3 ประการ คือ




1.)การทำงานของสมอง  
2.)การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก 
3.)กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเปิดกว้าง            
ให้เด็กเรียนรู้ได้ทุกเรื่อง เนื่องจากสมองเรียนรู้ตลอดเวลา ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยการปฏิบัติหรือลงมือกระทำด้วยตนเอง  ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบร่วมมือและผู้เรียนได้เรียนรู้แบบบูรณาการ การเรียนรู้ที่ถือสมองเป็นพื้นฐานส่งเสริมให้เด็กไทยได้พัฒนาศักยภาพสมองของเขาอย่างเต็มความสามารถ           

 การทำงานของสมอง

            สมองเริ่มมีการพัฒนาตั้งแต่อยู่ในท้องแม่  เมื่อคลอดออกมาจะมีเซลล์สมองเกือบทั้งหมดแล้วเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่  สมองยังคงเติบโตไปได้อีกมากในช่วงแรกเกิดถึง 3 ปี เด็กวัยนี้จะมีขนาดสมองประมาณ 80 % ของผู้ใหญ่  หลังจากวัยนี้ไปแล้วจะไม่มีการเพิ่มเซลล์สมองอีกแต่จะเป็นการพัฒนาของโครงข่ายเส้นใยประสาท  ในวัย 10 ปีเป็นต้นไปสมองจะเริ่มเข้าสู่วัยถดถอยอย่างช้าๆจะไม่มีการสร้างเซลล์สมองมาทดแทนใหม่อีก  ปฐมวัยจึงเป็นวัยที่มีความสำคัญยิ่งของมนุษย์            สมองของเด็กพัฒนาจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กพบว่า  ทักษะความคล่องตัวของกล้ามเนื้อมัดเล็กจะพัฒนาภายในช่วงเวลา  10 ปีแรก  ดังนั้นถ้าหากเด็กได้ฝึกฝนการใช้มือ  การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของมือจะทำให้สมองสร้างเครือข่ายเส้นใยสมองและจุดเชื่อมต่อและสร้างไขมันล้อมรอบเส้นในสมอง  และเซลล์สมองที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเล็กได้มาก  ทำให้เกิดทักษะการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก


การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก


            การจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพทางสมองจำเป็นต้องคำนึงถึงกระบวนการทำงานของสมองและการทำงานให้ประสานสัมพันธ์ของสมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา  สมองซีกซ้ายควบคุมความมีเหตุผลเป็นการเรียนด้านภาษา จำนวนตัวเลข วิทยาศาสตร์ ตรรกศาสตร์ การคิดวิเคราะห์           ในขณะที่สมองซีกขวาเป็นด้านศิลปะ  จินตนาการ  ดนตรี ระยะ/มิติ หากครูสามารถจัดหลักสูตรการเรียนการสอนให้เด็กได้ใช้ความคิดโดยผสมผสานความสามารถของการใช้สมองทั้งสองซีกเข้าด้วยกันให้สมองทั้งสองซีกเสริมส่งซึ่งกันและกัน  ผู้เรียนจะสามารถสร้างผลงานได้ดีเยี่ยม เป็นผลงานมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถแสดงความมีเหตุผลผสมผสานในผลงานชิ้นเดียวกัน            

หลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยควรคำนึงถึงการเรียนรู้ในด้านต่างๆดังนี้  

1.      การเคลื่อนไหวของร่างกาย  ฝึกการยืน เดิน วิ่ง จับ ขว้าง กระโดด การเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่างๆที่เราต้องการ  หรือพวกนักกีฬาต่างๆ



2.      ภาษาและการสื่อสาร เป็นการใช้ภาษาสื่อสารโดยการปฏิบัติจริง จากการพูด การฟัง  การอ่านและการเขียน  เช่น ให้เด็กเล่าสิ่งที่เขาได้พบเห็น ได้ลงมือกระทำ  ฟังเรื่องราวต่างๆที่เด็กต้องการเล่าให้ฟังด้วยความตั้งใจ เล่านิทานให้ลูกฟังทุกวัน



  3.      การรู้จักการหาเหตุผล ฝึกให้เด็กเป็นคนช่างสังเกต การเปรียบเทียบ จำแนกแยกแยะสิ่งต่างๆ  จัดหมวดหมู่สิ่งของที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน  เรียนรู้ขนาด ปริมาณ  การเพิ่มขึ้นลดลง  การใช้ตัวเลข 




            4. มิติสัมพันธ์และจินตนาการจากการมองเห็น ให้เด็กได้สัมผัสวัตถุต่างๆที่เป็นของจริง  เรียนรู้สิ่งต่างๆจากประสบการณ์ตรง  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะ  ขนาดตำแหน่ง  และการมองเห็น  สังเกตรายละเอียดของสิ่งต่างรอบตัว  เข้าใจสิ่งที่มองเห็นได้สัมผัส  สามารถนำสิ่งที่เข้าใจออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้



            5. ดนตรีและจังหวะ  ให้เด็กได้ฟังดนตรี แยกแยะเสียงต่างๆ  ร้องเพลง เล่นเครื่องดนตรี  ฝึกให้เด็กรู้จักจังหวะดนตรี
            6. การมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น  ฝึกให้เด็กอยู่ร่วมกับผู้อื่นในด้านการช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อ แบ่งปัน เข้าใจผู้อื่น เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ปฏิสัมพันธ์ในสังคมของมนุษย์เป็นรากฐานสำคัญของการเรียนรู้และสติปัญญา


            7. การรู้จักตนเอง รับรู้อารมณ์ความรู้สึกของตนเอง เข้าใจตนเอง จะทำให้ดูแลกำกับพฤติกรรมตนเองได้อย่างเหมาะสม            
            8. การปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การอยู่ร่วมกับธรรมชาติ


ผู้ปกครองมีบทบาทอย่างไรในการช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็ก

1. ให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งต่างๆด้วยการลงมือกระทำโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
2.  ให้เด็กได้พูดในสิ่งที่เขาคิด และได้ลงมือกระทำ  ถ้าไม่ได้พูดสมองไม่พัฒนา  ต้องฝึกให้ใช้สมองมากๆอย่างมีความสุข  ไม่ให้เครียด
3.  ผู้ใหญ่ต้องรับฟังในสิ่งที่เขาพูดด้วยความตั้งใจ  และพยายามเข้าใจเขา


สารอาหารบำรุงสมอง



           อาหาร 5 หมู่มีส่วนบำรุงสมองทั้งสิ้น โดยเฉพาะทารกในครรภ์  อาหารจะเข้าไปช่วยสร้างเซลล์สมอง  เมื่อคลอดออกมาแม่ต้องรับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่เช่นเดิม  เมื่อลูกโตขึ้นปริมาณของน้ำนมของแม่ไม่เพียงพอต่อความต้องการจึงต้องให้อาหารเสริม  ถ้าขาดสารอาหารเซลล์สมองจะเติบโตช้าและมีจำนวนน้อยลง  เส้นใยประสาทมีการสร้างไม่ต่อเนื่อง          
           ตับและไข่  เด็กปฐมวัยต้องการธาตุเหล็กจากตับหรือไข่ ถ้าเด็กไม่กินตับหรือไข่  และหรือกินในปริมาณที่ไม่เพียงพอจะทำให้ความจำและสมาธิด้อยลง           ปลา  สารจากเนื้อปลาและน้ำมันปลามีส่วยสำคัญต่อการพัฒนาความจำและการเรียนรู้เสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาทที่เรียกว่า เดนไดร์  ซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงสัมพันธ์เรื่องราวที่เรียนรู้จากเรื่องหนึ่งไปสู่อีกเรื่องหนึ่ง อธิบายได้ว่าทำให้เด็กเข้าเรื่องที่เรียนรู้ได้ง่ายและเร็วควรให้เด็กรับประทานเนื้อปลาทุกวันหรือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเฉพาะเนื้อปลาทะเลเช่น ปลาทู  ปลากระพง และปลาตาเดียว เป็นต้น
           ผักและผลไม้  ผักที่มีสีเขียว  เหลืองหรือแดง  อาหารเหล่านี้ให้วิตามินซี เพื่อนำไปสร้างเซลล์เยื่อบุต่างๆทั่วทั้งร่างกายและวิตามินเอทำให้เซลล์ประสาทตาทำงานได้เต็มที่ ซึ่งส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมในการพัฒนาสมอง           วิตามินและเกลือแร่ ช่วยในการทำงานของเชลล์ในการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสให้เป็นพลังงาน ถ้าขาดจะทำให้เชลล์สมองมีการทำงานลดลงและเชื่องช้าจะกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็ก           ปลา ไก่ หมู นมและอาหารทะเล อาหารเหล่านี้มีแร่ธาตุต่างๆเช่น เหล็ก ทองแดง แมกนีเซียม  สังกะสี ฟอสฟอรัสและไอโอดีน  มีผลต่อการทำงานของเซลล์สมอง           ผักตระกูลกะหล่ำ(ทำให้สุก) ข้าวสาลี และน้ำนมแม่ สามารถไปยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระที่อาจจะทำลายเซลล์สมองได้          
           การพัฒนาศักยภาพทางสมองของเด็ก ขึ้นกับ อาหาร  พันธุกรรม  สิ่งแวดล้อมต่างๆ และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมีโอกาสได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ  ให้เด็กมีโอกาสคิดในหลากหลายแบบเช่น คิดแสวงหาความรู้ คิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์  คิดอย่างมีวิจารณญาณ  คิดกว้าง คิดไกล  คิดเชิงอนาคต  คิดนอกกรอบ  ผู้ปกครองหรือครูควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ฝึกการคิดอย่างเหมาะสมกับวัย และมีความสุขในขณะที่ฝึก  สมองจึงจะพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ  

วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Assingment 5


คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 - 8

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

1.จงให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีและคำว่าสารสนเทศ
ตอบ   ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ   คือ สารสนเทศ และเทคโนโลยีมาจากภาษาอังกฤษว่า Information Technology ซึ่งก็ประกอบด้วยคำสองคำคือ Information และ Technology ทำให้บ่อยครั้งที่เรามักจะเรียกทับศัพท์เป็นคำย่อว่า ไอที จากคำย่อภาษาอังกฤษ IT
          ความหมายของสารสนเทศ (Information)   คือ ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มีการประมวลผลมาแล้ว หรือเก็บรวบรวมไว้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้ถ้อยคำในการพูด การเขียน ภาพเขียน ไมโครฟิล์ม แผ่นดิสคอมพิวเตอร์ เป็นต้น กล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือมีการบันทึกไว้ในสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศบางชนิด ซึ่งบุคคลสามารถรับรู้ด้วยวิธีหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ

2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหมายถึงอะไร
ตอบ   เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร “Information and Communication Technology” ICT หมายถึง เทคโนโลยีสำหรับ การประมวลผล สารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง, แปลง, จัดเก็บ, ประมวลผล, และสืบค้น สารสนเทศเพื่อใช้ ถ่ายทอดและเผยแพร่ข้อมูลในรูปดิจิทัล (Digital Data) ประกอบด้วยเสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหวข้อความหรือตัวอักษร และตัวเลขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้องความเเม่นยำเเละความรวดเร็วให้ทันต่อการนำไปใช้ประโยชน์I ย่อมาจากคำว่า Information คือ ระบบสารสนเทศC ย่อมาจากคำว่า Communication คือ การสื่อสารT ย่อมาจากคำว่า Technology คือ การประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์

3. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ  มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีการตั้งถิ่นฐานอยู่กันเป็นหมู่เหล่าตั้งแต่ โบราณกาลมาแล้ว หน่วยเล็กที่สุดของสังคมคือครอบครัวขนาดใหญ่ขึ้นมาเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จนในที่สุดเป็นเมือง และเป็นประเทศตามลำดับ มนุษย์แต่ละหมู่เหล่ามีการติดต่อสื่อสารพบปะกัน เพื่อแลกเปลี่ยนอาหาร สิ่งของเครื่องใช้ ยารักษาโรคที่ชุมชนของตนไม่สามารถผลิตได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 20 ปีที่ผ่านมานี่เอง เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากการรวมเทคโนโลยี 2 ประเภทเข้าด้วยกัน คือ เทคโนโลยีโทรคมนาคม กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คำว่าสารสนเทศ หมายถึง ตัวเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสาร โดยใช้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ ปรับเปลี่ยนรูปแบบของสารสนเทศ และใช้เทคโนโลยีโทรคมนาคมซึ่งพัฒนามาจากเครือข่ายโทรทัศน์และเครือข่ายวิทยุ มาสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้น เป็นการนำเอาความสามารถของคอมพิวเตอร์มาใช้

 4. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความเป็นมาหรือพัฒนาการโดยย่อย่างไร
ตอบ  เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดการจากการรวมกันของเทคโนโลยี2ด้านคือเทคโนโลยีโทรคมนาคมกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เทคโนโลยีโทรคมนาคม เริ่มจากการประดิษฐ์โทรเลขของ แซมวล มอร์ส(Samual Morse) ในปี พ.ศ. 2380 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะทาง ไกลๆได้ โดยอาศัยวิธีการเข้ารหัสตัวอักษร เป็นรหัสอื่นที่ประกอบด้วยจุด (.) และขีด (-) เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน SOS จะเข้ารหัสเป็น… – - – … การรับส่งโทรเลขได้ถูกนำมาใช้งานในเชิงการค้าตั้งแต่ พ.ศ. 2387 เป็นต้นมา และในปี พ.ศ. 2401 ได้มีการวางสายเคเบิลใต้มหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เกิดการสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปขึ้นเป็นครั้ง แรก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่อง มือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ “ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว


 5. ระบบปัญญาประดิษฐ์(Artifical Intelligence :AI) หมายถึงอะไรและมีส่วนประกอบที่สำคัญอย่างไร
ตอบ  เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์  ระบบปัญญาแบ่งออกเป็น 4 ระบบ คือ
         1.ระบบหุ่นยนต์
         2. ระบบประมวลภาษพูด
         3.ระบบการรู้จำเสียงพูด
         4.ระบบผู้เชี่ยวชาญ


6 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ   - เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิตลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
           - เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย
           - เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ
           - เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
1 ) ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุง้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็ว เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ประจำบ้านมีขีดความสามารถในการทำงานถึง 450 ล้านคำต่อนาที (million instructions per second) (Haag et al.,2000:19)
2 ) ระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย
3) ช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวด เร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย กัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที
4) ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลซึ่งมี ปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก
5) ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วย งานทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น (Turban et al.,2001)


7 สารสนเทศที่ดีและมีประโยชน์ควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ      ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
• ความสมบรูณ์ครอบคลุม (completen ess)
• ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
• ความถูกต้อง (accuracy)
• ความเชื่อถือได้ (reliability)
• การตรวจสอบได้ (verifiability)
รูปแบบ (Format)
• ชัดเจน (clarity)
• ระดับรายละเอียด (level of detail)• รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
• สื่อการนำเสนอ (media)
• ความยืดหยุ่น (flexibility)
• ประหยัด (economy)
เวลา (Time)
• ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
• การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
• มีระยะเวลา (time period)
กระบวนการ (Process)
• ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
• การมีส่วนร่วม (participation)
• การเชื่อมโยง (connectivity)

8. จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ใช่ในชีวิตประจำวัน
ตอบ   หนังสือพิมพ์   วิทยุกระจายเสียง   วิทยุโทรทัศน์   โทรศัพท์   โทรสาร   การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ(ตู้ATM)  การจ่ายค่าโดยสารผ่านบัตรแถบแม่เหล็ก   การทำแบบเวชทะเบียนโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้น

9. จงอธิบายกระแสโลกาภิวัฒน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบัน
ตอบ  กระแสโลกาภิวัตน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในปัจจุบันช่วยให้ความ เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราสะดวกสบายมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับยุคก่อน การเดินทางและติดต่อสื่อสารระหว่างกันสามารถทำได้ง่ายขึ้น มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในทุกสาขาอาชีพ เช่น การสื่อสาร การธนาคาร การบิน วิศวกรรม สถาปัตยกรรม การแพทย์ การศึกษาหรือการเรียนการสอน ซึ่งส่งผลให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว การติดตามข่าวสารที่เกิดขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของโลกได้ทันเหตุการณ์ สามารถรับรู้ข่าวสารข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ทั้งที่อยู่ห่างไกลกันคนละสถาน ที่ เช่น การถ่ายทอดสด การเสนอข่าวเหตุการณ์สำคัญ รายการแข่งขันกีฬา การถ่ายทอดสัญญาณผ่านระบบดาวเทียมจากประเทศต่าง ๆ การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์รายงาน สร้างภาพกราฟิก เก็บข้อมูล สืบค้นข้อมูล ฟังเพลง รวมถึงการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน จึงนับได้ว่าคอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การศึกษาและการเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยให้สามารถใช้งาน คอมพิวเตอร์ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ช่วยส่งเสริมทักษะและสร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินไปพร้อม ๆ กัน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะอาศัยองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย


10. จงกล่าวถึงบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งในด้านประโยชน์และโทษที่มีต่อผู้ใช้และสังคม
ตอบ      บทบาทที่ก่อให้เกิดประโยชน์ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพที่ดีขึ้นจากการสื่อสารที่รวดเร็วและกว้างไกล
2. ช่วยให้วิทยาการต่างๆเจริญก้าวหน้าและทันสมัย
3. การรับรู้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว
4.สามารถเข้าถึงคลังข้อมูลข่าวสารจำนวนมากซึ่งสามารถนำไปประยุกต์พัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
5.กระจายโอกาสด้านการศึกษาให้ผู้เรียนที่อยู่ไกลสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลหรือผ่านดาวเทียมได้
              บทบาทที่ก่อให้เกิดโทษสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ความผิดพลาดในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนฮาร์ดแวร์ และซอต์ฟแวร์ ที่เกิดขึ้นจากการออกแบบและพัฒนาทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบและเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหา
2. ละเมิดลิขสิทธิ์ของทรัพย์สินทางปัญญา การทำสำเนาและลอกเลียนแบบ
3.การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ การโจรกรรมข้อมูล การล่วงละเมิด การก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์


______________________________________________________________

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 2

1.คำว่า”ระบบ” และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ    “ระบบ” หมายถึง การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆอย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน จนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอนระบบจึงเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินงานทุกประเภท
          “วิธีการเชิงระบบ” หมายถึง เป็นกระบวนการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้วิธีระบบยังเป็นการช่วยป้องกันและแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นด้วย

2.องค์ประกอบสำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไร
ตอบ   องค์ประกอบที่สำคัญมี 3 ประการ ได้แก่
          1.ปัจจัยนำเข้า (INPUT)
          2.กระบวนการ (PROCESS)
          3.ผลลัพธ์ (OUTPUT)

3.ระบบสารสนเทศ หมายถึงอะไร
ตอบ  ระบบสารสนเทศ หมายถึง การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอน และเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อปฏิบัติการเกี่ยวกับข้อมูล

4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ ได้แก่อะไร
ตอบ  องค์ประกอบหลักของสารสนเทศประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

         1.ระบบการคิด  กระบวนการในการจัดลำดับ จำแนก แจกแจง และจัดหมวดหมู่
         2.ระบบเครื่องมือ  เครื่องมือที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล รวบรวม และเผยแพร่

5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
ตอบ  สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย ประกอบไปด้วย   ข้อมูล(Data)  สารสนเทศ(Information)  ความรู้(Knowledge)  ปัญญา(Wisdom)
       สารสนเทศด้านขั้นตอน  ประกอบไปด้วย   ข้อมูลนำเข้า(Input)  กระบวนการ(Process)   และผลลัพธ์(Output)
       สารสนเทศทั่วไป  ประกอบไปด้วย  เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล(Hardware)  ข้อมูล(Data)  สารสนเทศ(Information)  โปรแกรมหรือซอต์ฟแวร์(Software)  บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์(Peopleware)

6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ  โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ปัญหา ข้อมูล วิธีการ ทรัพยากรณ์ เพื่อแก้ปัญหาและประเมินผลลัพธ์ที่ได้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 3ขั้นตอน ดังนี้
1.)การวิเคราะห์ระบบ
2.)การสังเคราะห์ระบบ
3.)การสร้างแบบจำลอง

7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ   สารสนเทศระดับบุคคล =เสริมประสิทธิภาพและเพิ่มผลงานให้แต่ละบุคคล
          สารสนเทศระดับกลุ่ม =เสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลเพื่อให้มีประสิทธิภาพ
          สารสนเทศระดับองค์กร =สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรในภาพรวม และอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันของหลายแผนก

8.ข้อมูลและความรู้คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ   “ข้อมูล” หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ปรากฏให้เห็นสามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า

           “ความรู้” หมายถึง สภาวะทางสติปัญญาของมนุษย์ในการตีความสิ่งเร้าทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกด้วยความเข้าใจสาระของเนื้อหา กระบวนการ และขั้นตอน

9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีกี่ขั้นตอนอย่างไร
ตอบ    การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมี 3 ขั้นตอน ดังนี้

            1.การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งกำเนิด
            2.การบำรุงรักษาและประมวลผลข้อมูล หมายถึง การเก็บรักษาข้อมูลให้ใช้ได้ตลอดเวลา
            3.การจัดการข้อมูล หมายถึง การสร้างระบบจัดการข้อมูลเป็นจำนวนมาก ให้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างรวดเร็วทันเวลา

10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ     1.แลน(LAN) คือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่ จำกัดเขตเฉพาะภายในบริเวณอาคารหรือกลุ่มอาคารที่อยู่ใกล้กัน เนื่องจากข้อจำกัดของตัวกลางที่ใช้ส่งข้อมูล เช่น ภายในรั้วโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นต้น
             2.แวน(WAN) คือเครือข่ายบริเวณกว้างระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตรขึ้นไปจนมากกว่าพันกิโลเมตร ปกติเชื่อมโยงด้วยระบบสื่อสารสาธารณะ เช่น สายโทรศัพท์   เครือข่ายเส้นใยแก้วนำแสง   เครือข่ายสัญญาณดาวเทียม เป็นต้น
             3.อินเทอร์เน็ต(Internet) คือเครือข่ายขนาดใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายแวนจำนวนมากซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว้างไกลทั่วโลก
_________________________________________________________

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 3

1.คอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ   คอมพิวเตอร์ คือ เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ รวมทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
         ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ 
1.มีความเร็วในการทำงาน
2.มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง
3.มีความถูกต้องแม่นยำตามโปรแกรมที่สั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4.เก็บข้อมูลได้มาก ไม่ต้องใช้เอกสารและตู้เก็บ
5.สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่ายได้รวดเร็วและสะดวก

2.คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
ตอบ  เริ่มจากการคิดค้นของชาวจีนโดยการประดิษฐ์ลูกคิด ต่อมาชาวฝรั่งเศสได้ประดิษฐ์เครื่องคิดเลขขึ้นมาเมื่อปีพ.ศ.2185 และในปีพ.ศ.2376 ชาร์ล แบบเบจ ได้สร้างเครื่องคำนวณที่อาศัยโปรแกรมเป็นเครื่องแรกของโลกจึงได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์

3.ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ   1.ฮาร์ดแวร์  
          2. ซอต์ฟแวร์
          3.ข้อมูล
          4.บุคลากร

4.ระบบคอมพิวเตอร์หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ได้แก่อะไร
ตอบ  ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆกับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้มากที่สุด
ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
1.ฮาร์ดแวร์   2. ซอต์ฟแวร์  3.ข้อมูล  4.บุคลากร

5.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอะไร ส่วนประกอบที่สำคัญของฮาร์ดแวร์ได้แก่อะไร
ตอบ  ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้  ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
1.ส่วนประมวณผล
2.ส่วนความจำ
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล

6.ส่วนประกอบใดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนส่วนสมองของระบบคอมพิวเตอร์
ตอบ   CPU

7.หน่วยคอมพิวเตอร์แบบแรม(RAM)และแบบรอม(ROM)ของหน่วยความจำหลักแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ  หน่วยความจำแรมเป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลได้ชั่วคราวหากปิดเครื่องหรือไม่มีกระแสไฟฟ้าข้อมูลก็จะลบหายไป  แต่หน่วยความจำรอมสามารถเก็บข้อมูลได้ถาวรซึ่งเป็นหน่วยความจำที่ไว้ใช้เก็บโปรแกรม

 8.จานบันทึกข้อมูล(Hard Disk)ประกอบด้วยอะไร ทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  จานบันทึกข้อมูลประกอบด้วย แผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่น และเครื่องขับจาน ทำหน้าที่หมุนจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง มีหัวแม่เหล็กทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลต่างๆลงบนผิวของแผ่น

9.บอกความหมายของคำต่อไปนี้เมกะไบต์(Megabyte) กิกะไบต์(Gigabyte) พิกเซล(Pixel) จิกะเฮิร์ซ(GHz)
ตอบ  คือขนาดของการเก็บข้อมูล

10.จอภาพ แป้นพิมพ์ และเมาท์ ทำหน้าที่อย่างไรในเครื่องคอมพิวเตอร์
ตอบ  จอภาพ ทำหน้าที่แสดงผล  แป้นพิมพ์ ทำหน้าที่รับเข้าข้อมูลจากการกดแป้นพิมพ์เพื่อส่งต่อไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์   เมาท์ ทำหน้าที่ ในการควบคุมตัวชี้ที่ปรากฎบนจอภาพ ให้สามารถเลื่อนไปยังตำแหน่งต่างๆที่ต้องการ


__________________________________________________________

คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 4

1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน

2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ   มี2 ประเภท คือ 1.ซอฟต์แวร์ระบบ  2.ซอฟต์แวร์ประยุกต์

3.ซอฟต์แวร์ระบบ คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ดำเนินงานพื้นฐานต่างๆของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นแล้วแปลความหมายเพื่อให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนหน้าจอ

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานเฉพาะเรื่องตามที่เราต้องการ เช่นงานพิมพ์เอกสาร งานพิมพ์ราบงาน วาดภาพ เล่นเกม ซึ่งเน้นการใช้งานอย่างสะดวก

5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คืออะไร
ตอบ  ซอฟต์แวร์เฉพาะงาน คือ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ช่วยในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ในหน้าที่เฉพาะด้านบางอย่าง เช่น การตรวจหาและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ การจัดเรียงข้อมูล เป็นต้น

6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ ซอฟต์แวร์นั้นสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์อ่านข้อมูล แปลความหมาย และทำการประมวลผลและส่งผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบสารสนเทศตามที่เราต้องการ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานตามที่เราต้องการได้

7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
ตอบ   ซอฟต์แวร์จะเป็นตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะแปลภาษาโดยคำสั่งในระบบเลขฐานสอง

8.ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร
ตอบ   ระบบปฏิบัติการ คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ควบคุมกิจกรรมทั้งหมดของคอมพิวเตอร์  ระบบปฏิบัติการใช้ในการบริหารข้อมูลและทำแฟ้มข้อมูลภายในคอมพิวเตอร์


__________________________________________________________


คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 5

1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงต่อระบบคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน โดยการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์แต่ละตัวที่ใช้ทำงานเข้าหากัน

2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  มีประโยชน์ในเรื่องของการสื่อสารข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ที่รวดเร็วขึ้น

3.ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ   ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่ หมายถึง การเชื่อมต่อเครือข่ายในด้านการใช้ข้อมูลร่วมกัน

4.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หมายถึง การเชื่อมโยงต่อกันทั่วโลก

5.ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ  ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการ หมายถึง ระบบเครือข่ายที่ทำให้เกิดการรวมพลังของคอมพิวเตอร์เครือข่ายมาทำงานร่วมกัน

6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ   ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มี3 ประเภท คือ
1.เครือข่ายแลนหรือเครือข่ายบริเวณเฉพาะที่
2.เครือข่ายแมนหรือเครือข่ายบริเวณนครหลวง
3.เครือข่ายแวนหรือเครือข่ายบริเวณกว้าง

7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ  มี 2 รูปแบบ คือ
     1.เครือข่ายเชิงกายภาพ
     2.เครือข่ายเชิงตรรกยะ


__________________________________________________________


คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 6

1.อินเทอร์เน็ต(Internet) หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ  ด้านการศึกษามีความสำคัญ ดังนี้
1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง  ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
2.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3.นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลือนไหวต่างๆ

3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ   ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน  ได้แก่
1.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร สะดวกและรวดเร็ว
2.ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆทั่วโลกได้
3.ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างระบบ
4.สามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ
5.ให้ความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ เช่น การฟังเพลง เล่นเกม เป็นต้น
6.ใช้สื่อสารด้วยข้อความ
7.ใช้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
8.ซื้อขายสินค้าและบริการ

4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  คือการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง และขณะเดียวกันยังสามารถแปลงสัญญาณแอนาล็อกกลับเป็นสัญญาณดิจิทัลได้

5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก เช่น เอกสารรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง เป็นต้น

6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
ตอบ   เช่น การรับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสิ่งที่ส่งอาจเป็นข้อมูล รูปภาพ เสียงไปถึงผู้รับ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลกได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที


____________________________________________________________


คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 7

1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ  เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1.อินทราเน็ต(Intranet) เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เชื่อมต่อภายในตึกเดียวกัน
2.เอกซ์ทราเน็ต(Extranet)เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร แต่เปิดให้สมาชิกภายนอกเชื่อมต่อกับเครือข่ายได้
3.อินเทอร์เน็ต(Internet)เป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ ทุกคนสามารถเชื่อมต่อได้

2.อินทราเน็ต(Intranet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  อินทราเน็ต(Intranet)  หมายถึง เป็นเครือข่ายสำหรับองค์กร ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร เชื่อมต่อภายในตึกเดียวกัน

3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ   http://www.google.com
          http://www.altavista.com
          http://www.excite.com   เป็นต้น


4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ  พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง2-3คำลงไป แล้วกดแป้นEnter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บที่ค้นหา

5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ  Digital library หมายความว่า ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์

6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
ตอบ   http://www.school.net.th 
           http://www.learn.in.th


__________________________________________________________


คำถามท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ 8

1.ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ โดยเขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน

1.1การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ   มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.ให้ผู้ชมเข้าใจสาระการนำเสนอ
2.ให้ผู้ชมเกิดการประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ

1.2หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ  หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงาน มีดังนี้
1.การดึงดูดความสนใจ
2.ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
3.ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

1.3การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ  การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วม
          การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม

1.4เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ  - เครื่องฉายสไลด์   
         - ฉายแผ่นใส  
         - เครื่องฉายData Projector หรือ LCD Projector

1.5รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ  ปัจจุบันมี 2 แบบ คือ
1.การนำเสนอแบบ Slide Presentation
2.รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)